ฟราวเอนเคียเช่อ สัญลักษณ์ของความรุ่งเรือง การกลับมา และความเป็นอมตะ |
![]() |
![]() |
คมสัน สุริยะ
25 พฤษภาคม 2553
ฟราวเอนเคียเช่อ (Frauenkirche) ตั้งอยู่ที่เมืองเดรสเด้น ประเทศเยอรมนี เป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองในอดีตของเดรสเด้น ต่อมาถูกทำลายลงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเหลือแต่ซากเพียงไม่กี่ชิ้น แล้วได้รับการบูรณะอีกครั้งจนอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม บทความนี้จะได้ลำดับการบูรณะฟราวเอนเคียเช่อ และเหตุผลของการต้องบูรณะ
1/ ฟราวเอนเคียเช่อในปี ค.ศ. 1930 ประมาณสิบห้าปีก่อนถูกทำลาย ถ่ายภาพโดย Rudolf Kobach
2/ สภาพเมืองเดรสเด้นที่ถูกทำลายระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ถ่ายภาพโดย S?chsische Landesbibliothek Abt. Deutshce Fotothek
3/ อีกมุมหนึ่งของเมืองเดรสเด้นหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกแล้วสี่ปี
ถ่ายภาพโดย S?chsische Landesbibliothek Abt. Deutshce Fotothek
4/ ฟราวเอนเคียเช่อก่อนสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดสองเดือน
ถ่ายภาพโดย S?chsische Landesbibliothek Abt. Deutshce Fotothek
5/ ฟราวเอนเคียเช่อหลังสิ้นสุดสงครามโลกแล้วเจ็ดปี
ถ่ายภาพโดย S?chsische Landesbibliothek Abt. Deutshce Fotothek
การบูรณะฟราวเอนเคียเช่อได้รับการบูรณะอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1994 สี่ปีหลังจากที่เยอรมันรวมชาติกันอีกครั้ง แล้วมาสำเร็จในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 11 ปี
จุดเริ่มต้นของการบูรณะเกิดจากข้อเรียกร้องของชาวเมืองเดรสเด้นเอง แต่ก็ไม่มีใครอยากจะบูรณะเพราะต้องใช้เงินมาก เดิมทีเดียวก็ดูแลกันไปอย่างเป็นซากปรักหักพังในประวัติศาสตร์ แต่ต่อมาเมื่อทนการเรียกร้องไม่ไหว โบสถ์แห่งแซ็กซอนี ก็เริ่มเป็นหัวแรงในการออกเงินบูรณะ จากนั้นรัฐบาลท้องถิ่นเมืองเดรสเด้นก็เข้าร่วมด้วย แล้วมีการตั้งมูลนิธิฟราวเอนเคียเช่อเพื่อรับบริจาคจากบุคคลทั่วไป
อารมณ์ของชาวเมืองเดรสเด้นที่ต้องการให้ฟราวเอนเคียเช่อกลับคืนมาก็คงประมาณอย่างเดียวกับความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อวัดพระแก้ว คนนครปฐมกับพระปฐมเจดีย์ คนลำปางกับวัดพระธาตุลำปางหลวง คนลำพูนกับวัดพระธาตุหริภุญชัย คนเชียงใหม่กับวัดพระธาตุดอยสุเทพ และชาวมอชอกับศาลาธรรม
การเริ่มบูรณะกระทำโดยการรื้อหินเดิมออกก่อนอย่างบรรจง มีการจดบันทึกว่าหินก้อนไหนอยู่ในตำแหน่งไหน เพื่อกะว่าจะเอาใส่กลับเข้าไปดังเดิมถ้าทำได้ การรื้อดำเนินไปนานถึง 18 เดือน และรื้อหินออกมาประมาณ 22,000 ลูกบาศก์เมตร
จากนั้นก็เริ่มมีการวางหินก้อนแรกในวันที่ 27 พฤษภาคม 1994 โดยใช้หินเก่าที่สภาพยังดีอยู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งประมาณว่าหินเก่าประมาณ 40% ของที่ถูกรื้อออกสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ หินเก่าเหล่านี้จะมีสีดำ เพราะว่าดูดซับเอาควันไฟจากสงครามเข้าไป หินใหม่จะเป็นหินทรายสีขาว
การได้ฟราวเอนเคียเช่อกลับมาทำให้ชาวเมืองเดรสเด้นมีกำลังใจสู้ชีวิตกันต่อไป ทำให้มีความหวังที่จะบูรณะเมืองที่เหลือให้รุ่งเรืองอย่างในอดีต เป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาอีกครั้งคือแม้จะถูกทำลายไปแล้วก็ฟื้นกลับคืนมาใหม่ได้ และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะที่ไม่มีวันลืมเลือนไปจากใจของชาวเดรสเด้น
![]() 6/ การเริ่มรื้อหินลงมา
ที่มา: http://www.galenfrysinger.com/europe/dresden05.jpg
![]() 7/ การบูรณะโดม
ที่มา: http://www.bach-cantatas.com/Pic-Tour-BIG/Dresden%5B18%5D.jpg
![]() 8/ การบูรณะยอดโดม
ที่มา: http://www.archi-nova.net/dresden/photos/3-dresden-frauenkirche.jpg
![]() 9/ การติดตั้งยอดโดม
ที่มา: http://extremecatholic.blogspot.com/images/frauenkirche.jpg
10/ ฟราวเอนเคียเช่อในปัจจุบัน
ถ่ายภาพ: คมสัน สุริยะ
11/ สังเกตว่าหินสีดำคือหินเก่า และหินสีขาวคือหินใหม่ ฝั่งผนังด้านโค้ง
ถ่ายภาพ: คมสัน สุริยะ
12/ อีกมุมหนึ่งของหินเก่าและหินใหม่ ฝั่งผนังด้านเหลี่ยมซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับด้านโค้ง
ถ่ายภาพ: คมสัน สุริยะ
13/ โดมและยอดโดมของฟราวเอนเคียเช่อ
ถ่ายภาพ: คมสัน สุริยะ
14/ ชั้นสองและโดมของฟราวเอนเคียเช่อ
ถ่ายภาพ: คมสัน สุริยะ
15/ นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปชมบนโดมได้
ถ่ายภาพ: คมสัน สุริยะ
16/ เศษหินเดิมที่ตั้งไว้เป็นที่ระลึก
ถ่ายภาพ: คมสัน สุริยะ
17/ คมสัน กับ ฟราวเอนเคียเช่อ
ก็ขอภาวนาว่าอย่าให้เกิดสงครามขึ้นที่นี่อีกเลย
|