แบบสอบถามสำหรับการเก็บข้อมูล SAM หน้าตาเป็นอย่างไร |
![]() |
![]() |
คมสัน สุริยะ
13 ธันวาคม 2552 แบบสอบถามของ Komsan Suriya มีต้นแบบมาจากของ Arjunan Subramanian มีความยาว 125 หน้า แบ่งออกเป็น 22 หมวดหมู่ดังนี้
หมวดที่ 1: ข้อมูลเบื้องต้น หน้า 1 หมวดที่ 2: ข้อมูลสมาชิกในบ้าน หน้า 1
หมวดที่ 3: ที่ดิน หน้า 2 - 4
หมวดที่ 4: การจัดสรรพื้นที่เพาะปลูก หน้า 4 - 5
หมวดที่ 5: การเพาะปลูกและกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการเพาะปลูก หน้า 6 - 30
หมวดที่ 6: การปรับปรุงและบำรุงรักษาสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก หน้า 31 - 33
หมวดที่ 7: สินทรัพย์ที่เกี่ยวกับการชลประทาน หน้า 34 - 41
หมวดที่ 8: อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการทำการเพาะปลูก หน้า 42 - 44
หมวดที่ 9: สินทรัพย์ที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก หน้า 44 - 51
หมวดที่ 10: ปศุสัตว์ หน้า 52 - 59
หมวดที่ 11: สินทรัพย์ที่เกี่ยวกับการทำปศุสัตว์ หน้า 60 - 67
หมวดที่ 12: การผลิตสินค้าและการค้าที่ไม่ใช่การทำการเกษตร หน้า 68 ? 69
หมวดที่ 12(1): การประกอบอาหารจำหน่าย (ร้านอาหาร) หน้า 70
หมวดที่ 12(2): การจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมและสินค้าของที่ระลึก หน้า 71 - 73
หมวดที่ 12(3): ต้นทุนการผลิตสินค้าและการค้าที่ไม่ใช่การทำการเกษตร หน้า 74 ? 76
หมวดที่ 13: สินทรัพย์ที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าและการค้าที่ไม่ใช่การทำการเกษตร หน้า 77 - 82
หมวดที่ 14: การให้บริการโดยได้รับเป็นเงินเดือน หน้า 83
หมวดที่ 15: การรับจ้างทั่วไปโดยรับเป็นค่าจ้างรายวันหรือรายชิ้น
แต่ไม่รวมการรับจ้างในภาคการท่องเที่ยว หน้า 84 - 85
หมวดที่ 16: โฮมสเตย์ หน้า 86 -95
หมวดที่ 17: การรับจ้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โดยรับเป็นค่าจ้างรายวันหรือเป็นครั้ง หน้า 96 - 108
หมวดที่ 18: บ้านที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้าง และที่ดิน หน้า 109 - 118
หมวดที่ 19: รายจ่ายเพื่อการบริโภค หน้า 119 - 120
หมวดที่ 20: เครื่องอุปโภค หน้า 121 ? 122
หมวดที่ 21: เงินปันผลและเงินโอน หน้า 123
หมวดที่ 22: หนี้สิน หน้า 124 ? 125
หมายเหตุ
1. ในหมวดที่ว่าด้วยกิจกรรมการผลิต การให้บริการ และการค้า เก็บข้อมูลทั้งด้านรายรับและต้นทุน
2. ในหมวดสินทรัพย์เน้นที่การหมุนเวียนของทรัพย์สินในงวดนั้น (รอบปี) ที่ซื้อ จำหน่าย ได้มา และให้ไป
3. แบบสอบถามในบางหมวดหมู่ยาวหลายหน้า เพราะว่าเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับความหลากหลายของสินค้าและบริการ
เช่น ประเภทของพืชที่เพาะปลูก หากผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้เพาะปลูกพืชประเภทใดก็ข้ามไปได้ 4. หมวดใดที่ครัวเรือนนั้นไม่มีรายได้ ก็ข้ามไปได้
5. แบบสอบถามของ Arjunan Subramanian มีการถามเรื่องสินทรัพย์มีค่า เช่น ทองคำ เงินฝากธนาคาร ฯลฯ แต่ได้ตัดออกไปจากแบบสอบถามนี้เพราะว่าไม่ถูกอัธยาศัยผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 6. รายการสินทรัพย์ที่มีอยู่ใน RP (Reference period) ใช้ประโยชน์สำหรับการรัน regression 7. หลักสำคัญคือเก็บข้อมูลให้ละเอียดไว้ก่อน แล้วเราสามารถนำมารวมเป็นก้อนใหญ่ได้ แต่หากเก็บเป็นก้อนใหญ่มา จะนำมาแยกย่อยทีหลังไม่ได้แล้ว Reference Period (RP)
คือ ช่วงเวลาของข้อมูลนั้น หรือ งวด ไม่จำเป็นต้องเริ่มเดือนมกราคมไปสิ้นสุดเดือนธันวาคม แต่นิยมเริ่มจากต้นฤดูกาลเพาะปลูกพืชสำคัญของหมู่บ้านนั้นไปจนจบฤดูกาลเพาะปลูก เช่น RP ของหมู่บ้านแม่กำปองซึ่งเก็บเมี่ยงเป็นหลัก คือ เดือนวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ถึง วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ กรุณาเขียนอ้างอิงดังนี้ คมสัน สุริยะ. 2552. เทคนิคการสร้างและใช้งานตารางมูลค่าการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจระดับหมู่บ้าน. เชียงใหม่: ศูนย์การวิเคราะห์เชิงปริมาณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [online] www.tourismlogistics.com Link
การใช้ประโยชน์จากตาราง SAM: การอ่านข้อมูลเบื้องต้น
การใช้ประโยชน์จากตาราง SAM: SAM Multiplier Model
การใช้ประโยชน์จากตาราง SAM: CGE
การจัดตาราง SAM สำหรับการใช้งานในแบบจำลอง CGE
คำถามที่ CGE ตอบได้
|