ความหมายของ Research-based สำหรับมหาวิทยาลัยวิจัย |
![]() |
![]() |
คมสัน สุริยะ
14 พฤศจิกายน 2552
การศึกษาในมหาวิทยาลัยมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบอเมริกาและแบบยุโรป แบบอเมริกาเน้นเรียนในชั้นเรียน (Course work) ให้มากเข้าไว้ เพื่อให้รู้ทุกเรื่องอย่างกว้างขวางแล้วก็สอบ จากนั้นทำวิจัยเพื่อประกอบการสำเร็จการศึกษา แบบยุโรปทำวิจัยเป็นหลัก มีเรียนในชั้นเรียนบ้างตามความสนใจและความจำเป็นที่ต่างกันไปของนักศึกษาแต่ละคน
ในมหาวิทยาลัยเมืองไทยก็มีทั้งผู้ที่สำเร็จการศึกษามาจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปมากพอ ๆ กัน ทำให้ไม่รู้จะเลือกใช้รูปแบบอย่างไหนดี ก็เลยลงเอยที่รูปแบบไทย ๆ คือ ?เอาทุกอย่าง และต้องได้ฟรี?
ของฟรีไม่มีในโลก ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ถ้าอยากได้ทั้งสองอย่างก็จะได้อย่างละนิดอย่างละหน่อย เรื่องนี้ชาวตะวันตกรู้ดี คนไทยก็รู้แต่ไม่ยอมรับรู้ ก็เลยอยากเอาให้ดี (เลิศ) ทุกอย่าง แล้วในที่สุดเราก็ทำไม่ได้สักอย่าง ก็เพราะมันผิดมาตั้งแต่เราคิด
มหาวิทยาลัยใด ๆ ที่มุ่งจะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย และได้รับงบประมาณให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ควรเข้าใจคำว่า Research-based ให้กระจ่างเสียก่อน
คำว่า Research-based แปลเป็นไทยได้ว่า อิงกับการวิจัย หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งการเรียนการสอน การวิจัย กิจกรรมของอาจารย์ และกิจกรรมของนักศึกษา ต้องอิงอยู่กับการวิจัย ดังนี้
เราอยากเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแต่เราไม่มีทางทำได้
ถ้าเรายังมีการสอนแน่นเอี๊ยด เนื้อหาก็เน้นการยัดให้นักศึกษามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ซึ่งไม่รู้จะยัดไปทำไม ไม่มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน นัยว่าอยากให้นักศึกษารู้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ส่วนจะเอาไปใช้อะไรได้หรือเปล่าก็ไม่จำเป็นต้องสนใจ) นอกจากนั้นยังติดขัดที่ระเบียบการเงินเรื่องการวิจัยเคร่งครัดเกินไป ไม่มีค่าตอบแทนให้นักวิจัย อาจารย์มีความสนใจที่หลากหลายเกินไปไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ และการจัดอบรมให้นักศึกษาติดขัดเรื่องระเบียบการเงินและไม่มีค่าตอบแทนให้ผู้จัด ถ้าผมเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยเรื่องการวิจัย
ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ในยุคที่ผมเป็นผู้น้อย ก็รอให้ผมเป็นผู้ใหญ่ก่อน แล้วผมจะทำเตรียมไว้ให้คนรุ่นหลัง ในเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานของเมืองไทยที่เรียกร้องให้รักชาติ ผมขอใช้สิ่งนี้แสดงออกซึ่งความรักชาติของผม ที่มุ่งจะเห็นความเจริญวัฒนาสถาพรในเรื่องการวิจัยของประเทศ และบ่มเพาะความสามารถในการวิจัยให้เยาวชน แทนการเคลื่อนไหวทางการเมืองใด ๆ |